เมนู

บทว่า เปจฺจ คือไปสู่ปรโลก. บทว่า สคฺเค ปโมทติ ความว่า
ก่อนอื่นในโลกนี้ มนุษย์ผู้เป็นบัณฑิต เห็นการปรนนิบัติในมารดาบิดา
(ของเขา) แล้ว ก็สรรเสริญเขาในโลกนี้แหละ. เพราะมีการปรนนิบัติเป็นเหตุ.
ก็บุคคลผู้บำรุงมารดาบิดานั้น ไปสู่ปรโลกแล้ว สถิตอยู่ในสวรรค์ ย่อมร่าเริง
บันเทิงใจ ด้วยทิพย์สมบัติดังนี้.
จบอรรถกถาพรหมสูตรที่ 1

2. อานันทสูตร



ว่าด้วยการเข้าเจโตวิมุตติ และ ปัญญาวิมุตติ



[471] ครั้งนั้นแล ท่านอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า
ครั้นเข้าไปถึงแล้วถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนหนึ่ง
ท่านอานนท์ผู้นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้กราบทูลถามพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า
ว่า จะพึงมีหรือ พระพุทธเจ้าข้า การได้สมาธิแห่งภิกษุอย่างที่เป็น
เหตุให้อหังการ มมังการ และ มานานุสัย ไม่พึงมีในกายอันมีวิญญาณนี้
และ ... ในสรรพนิมิตภายนอก อนึ่ง เมื่อภิกษุเข้าถึงเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ
อันให้อยู่ อหังการ มมังการ และมานานุสัยย่อมไม่มี ภิกษุพึงเข้าถึงเจโตวิมุตติ
ปัญญาวิมุตติ
อันนั้นอยู่ (มีหรือ).
"มีได้ อานนท์ การได้สมาธิอย่างนั้น..."
"มีอย่างไร พระพุทธเจ้าข้า ..."
อานนท์ ความตรึกอย่างนี้ย่อมมีแก่ภิกษุในศาสนานี้ว่า นั่นละเอียด
นั่นประณีต นี่คืออะไร นี่คือธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง เป็นที่

สละอุปธิทั้งหมด เป็นที่สิ้นตัณหา เป็นที่หมดกำหนัด เป็นที่ดับ คือ นิพพาน
มีอย่างนี้แล อานนท์ การได้สมาธิอย่างนั้น...
ก็แล คำที่เราหมายเอาความที่กล่าวมานี้ ได้กล่าวในปุณณกปัญหาใน
ปารายนวรรคว่า
ความหวั่นไหวในโลกไหน ๆ ของ
ผู้ใดไม่มี เพราะพิจารณาเห็นอารมณ์
อันยิ่งและหย่อนในโลก เรากล่าวว่า ผู้นั้น
ซึ่งเป็นคนสงบไม่มีโทษดุจควัน ไม่มี
ทุกข์ใจ ไม่มีความหวัง ข้ามชาติและชรา
ได้ ดังนี้
.
จบอานันทสูตรที่ 2

อรรถกถาอานันทสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในอานันทสูตรที่ 2 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ตถารูโป แปลว่า ชนิดนั้น. บทว่า สมาธิปฏิลาโภ
แปลว่า การได้เอกัคคตาแห่งจิต. ในบทว่า อิมสฺมึ จ สวิญฺญาณเก นี้
พึงทราบอธิบายว่า ในร่างกายทั้งสองฝ่าย คือ ทั้งของตน และของคนอื่น
ที่พระอานันทเถระเจ้ากล่าวไว้ว่า อิมสฺมึ (นี้) โดยรวม (ร่างกายทั้งสอง)
เข้าด้วยกัน เพราะมีความหมายว่า เป็นสวิญญาณกะ (มีวิญญาน) เหมือนกัน.
บทว่า อหงฺการมมงฺการมานานุสยา ได้แก่ กิเลสเหล่านี้ คือ ทิฏฐิ คือ
อหังการ 1 ตัณหา คือ มมังการ 1 อนุสัย คือ มานะ 1. บทว่า นาสฺสุ